โครงการนี้มีวัตถุประสงค์ในการพัฒนาและจัดตั้งห้องปฏิบัติการวิจัยด้านเครื่องเร่งอนุภาคอิเล็กตรอนเชิงเส้นและเลเซอร์ความไวสูงย่านอินฟราเรดและเทราเฮิรตซ์ ขึ้นเป็นแห่งแรกในประเทศไทยและในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ โดยมุ่งเน้นในการพัฒนาสถานีทดลองเพื่อประยุกต์ใช้ในงานวิจัยขั้นแนวหน้าและอุตสาหกรรมในอนาคต จุดเด่นของผลผลิตของโครงการ ได้แก่ ระบบเครื่องเร่งอิเล็กตรอนและสถานีผลิตเลเซอร์อิเล็กตรอนอิสระย่านอินฟราเรดช่วงกลางและเทราเฮิรตซ์ และระบบเทราเฮิรตซ์สเปกโทรสโกปีโดเมนเวลา ความสำเร็จดังกล่าวนับเป็นก้าวสำคัญที่แสดงให้เห็นว่านักวิจัยไทยสามารถสร้างนวัตกรรมและเทคโนโลยีทางด้านนี้ได้เองเป็นครั้งแรกในประเทศ โดยการทำงานร่วมกันอย่างทุ่มเทของทีมนักวิจัย นักศึกษา และหน่วยงานความร่วมมือที่เกี่ยวข้อง
ผลผลิต (Output):
- เครื่องมือและโครงสร้างพื้นฐาน (Facilities and Infrastructure): 1 ห้องปฏิบัติการวิจัย
- เทคโนโลยีต้นแบบ (Prototype) ระดับ TRL4
- ระบบเทราเฮิรตซ์สเปกโทรสโกปีโดเมนเวลา (THz time-domain spectroscopy system)
- แม่เหล็กสี่ขั้ว (Quadrupole magnet)
- แม่เหล็กสองขั้วในระบบบีบห้วง (Dipole magnet in bunch compressor systems)
- แม่เหล็กอัลดูเลเตอร์ (Undulator magnet)
- การพัฒนากำลังคน:
- นักวิจัยประจำ 10 คน
- นักวิจัยอิสระ 8 คน
- นักศึกษาปริญญาเอก 6 คน
- นักศึกษาปริญญาโท 4 คน
- นักศึกษปริญญาตรี 3 คน
- ผลงานวิจัยในวารสารวิชาการระดับนานาชาติ 8 ผลงาน (4 published, 3 revision, 1 submitted)
- การนำเสนอผลงานในการประชุมวิชาการระดับนานาชาติ 13 ผลงาน (12 oral, 1 poster)
- ความร่วมมือระหว่างองค์กร:
- ภายในประเทศ 3 องค์กร ได้แก่ ศูนย์เทคโนโลยีอิเล็กทรอนิกส์และคอมพิวเตอร์แห่งชาติ สถาบันวิจัยดาราศาสตร์แห่งชาติ (องค์การมหาชน) และมหาวิทยาลัยเทคโนโลยีสุรนารี
- ระหว่างประเทศ 4 องค์กร ได้แก่ สถาบัน DESY (PITZ) ประเทศเยอรมนี มหาวิทยาลัยเกียวโต (Kyoto University) และมหาวิทยาลัยโทโฮกุ (Tohoku University) ประเทศญี่ปุ่น และ Future Circular Collider (FCC) Study Collaboration ขององค์การวิจัยนิวเคลียร์แห่งยุโรป (CERN)
แหล่งที่มา: รายงานฉบับสมบูรณ์ “โครงการห้องปฏิบัติการเลเซอร์อิเล็กตรอนอิสระย่านอินฟราเรดและเทร่าเฮิรตซ์เพื่อเสริมสร้างความแข็งแกร่งของระบบนิเวศวิจัยระดับแนวหน้าในประเทศไทย” (สัญญาเลขที่ B05F650022), กุมภาพันธ์ 2567.