You are currently viewing ห้องปฏิบัติการเครื่องเร่งอิเล็กตรอนเชิงเส้น (PBP-CMU Electron Linac Laboratory) ได้ร่วมในการจัดกิจกรรมและสนับสนุนเป็น Sponsor ”การอบรมนานาชาติด้านเครื่องเร่งอนุภาคในภูมิภาคเอเชีย ครั้งที่ 7 (The 7th International School on Beam Dynamics and Accelerator Technology, ISBA24)” ณ เรือนอ่างแก้ว มหาวิทยาลัยเชียงใหม่

ห้องปฏิบัติการเครื่องเร่งอิเล็กตรอนเชิงเส้น (PBP-CMU Electron Linac Laboratory) ได้ร่วมในการจัดกิจกรรมและสนับสนุนเป็น Sponsor ”การอบรมนานาชาติด้านเครื่องเร่งอนุภาคในภูมิภาคเอเชีย ครั้งที่ 7 (The 7th International School on Beam Dynamics and Accelerator Technology, ISBA24)” ณ เรือนอ่างแก้ว มหาวิทยาลัยเชียงใหม่

ห้องปฏิบัติการเครื่องเร่งอิเล็กตรอนเชิงเส้น (PBP-CMU Electron Linac Laboratory) ได้ร่วมในการจัดกิจกรรม และสนับสนุนเป็น Sponsor การอบรมนานาชาติด้านเครื่องเร่งอนุภาคในภูมิภาคเอเชีย ครั้งที่ 7 (The 7th International School on Beam Dynamics and Accelerator Technology, ISBA24)” ณ เรือนอ่างแก้ว มหาวิทยาลัยเชียงใหม่

         เมื่อวันที่ 1 – 9 พฤศจิกายน 2567 ศูนย์รวมผู้เชี่ยวชาญด้านเครื่องเร่งอนุภาคภายใต้การดำเนินการของศูนย์ความเป็นเลิศด้านฟิสิกส์
ร่วมกับมหาวิทยาลัยเชียงใหม่ สถาบันวิจัยแสงซินโครตรอน (องค์การมหาชน) และห้องปฏิบัติการเครื่องเร่งอิเล็กตรอนเชิงเส้น
 (PBP-CMU
Electron Linac Laboratory) 
ได้ร่วมกันจัดกิจกรรม  ”การอบรมนานาชาติด้านเครื่องเร่งอนุภาคในภูมิภาคเอเชีย ครั้งที่ 7 (The 7th International School on Beam Dynamics and Accelerator Technology, ISBA24)” ณ เรือนอ่างแก้ว มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ 

ในการนี้ห้องปฏิบัติการเครื่องเร่งอิเล็กตรอนเชิงเส้นได้ร่วมสนับสนุนเป็น Sponsor ผ่านโครงการ “โครงการพัฒนาสถานีทดลองเลเซอร์อิเล็กตรอนอิสระย่านอินฟราเรดและเลเซอร์เฟมโตวินาทีเพื่อยกระดับวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งอนาคต” โดยได้รับการสนับสนุนโครงการจาก หน่วยบริหารและจัดการทุนด้านการพัฒนากำลังคน และทุนด้านการพัฒนาสถาบันอุดมศึกษา การวิจัยและการสร้างนวัตกรรม (บพค.) แผนงาน  P20 การพัฒนาโครงสร้างพื้นฐานด้านวิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม และโครงสร้างพื้นฐานทางคุณภาพของประเทศที่รองรับการวิจัยขั้นแนวหน้า และการพัฒนาเทคโนโลยีและนวัตกรรมสู่อนาคต ประจำปีงบประมาณ  2567 และผู้ช่วยศาสตราจารย์

ดร.สาคร ริมแจ่ม หัวหน้าโครงการวิจัยฯ และผู้ประสานงานห้องปฏิบัติการเครื่องเร่งอิเล็กตรอนเชิงเส้นได้ทำหน้าที่เป็น Co-chair ร่วมกับ Prof. Dr. Masao Kuriki ในส่วนของ International Organizing Commitee ตามรายละเอียดในเว็บไซด์ https://conference-indico.kek.jp/event/275/ 

การจัดการอบรมครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อส่งเสริมการวิจัยขั้นแนวหน้าของประเทศไทยยกระดับการศึกษาวิจัยด้านวิทยาศาสตร์ระดับแนวหน้า
การพัฒนาและยกระดับกำลังคนรวมทั้งพัฒนาสู่การเป็นศูนย์กลางกำลังคนระดับสูงของอาเซียนด้านเครื่องเร่งอนุภาคส่งเสริมให้มีการแลกเปลี่ยนบุคลากรกับเครือข่ายความร่วมมือที่มีศักยภาพจากในประเทศและต่างประเทศเพื่อการถ่ายเทคโนโลยีและองค์ความรู้และสร้างนวัตกรรมที่มีมูลค่าสูงจากเทคโนโลยีเครื่องเร่งอนุภาคอันจะนำไปสู่ความก้าวหน้าทางการแพทย์ เพิ่มมูลค่าผลผลิตทางเกษตรและอาหาร
การวิจัยโบราณคดีเชิงนิติวิทยาศาสตร์ส่งเสริมงานวิจัยจากภาคอุตสาหกรรมให้มีมูลค่าเพิ่มมากขึ้น สร้างสรรค์ นวัตกรรมหลากหลายชนิด ร่วมพัฒนาเศรษฐกิจของประเทศผ่านความสัมพันธ์ ระหว่างวิทยาศาสตร์และอุตสาหกรรม อีกทั้งยังนำไปสู่การพัฒนาศักยภาพ บุคลากรของไทยอีกด้วย
 

       ในการอบรมนานาชาติด้านเครื่องเร่งอนุภาคในภูมิภาคเอเชีย ครั้งที่ 7 (ISBA24) นี้มีผู้สอนจากประเทศต่างๆ ในเอเชีย 6 ประเทศ (China, India, Japan, South Korea,Taiwan, Thailand) รวมทั้งสิ้น 18 ท่าน และมีนักเรียนเข้าร่วมอบร ทั้งหมด 64 คน จาก 9 ประเทศ (China, Germany, India, Indonesia, Japan, South Korea, Taiwan, Thailand, Turkey) โดยประกอบด้วยหัวข้อการอบรมหลัก 7 หัวข้อ และยังมีการอบรมภาคปฏิบัติเกี่ยวกับการสร้างแบบจำลองระบบเครื่องเร่งอนุภาค จำนวน 4 โปรแกรม
โดยมีการบรรยายจากผู้เชี่ยวชาญทั้งในเชิงทฤษฎีของเครื่องเร่งอนุภาคและอุปกรณ์ที่เกี่ยวข้องและการบรรยายในส่วนของการนำเครื่องเร่งอนุภาคไปประยุกต์ใช้ในทางการแพทย์และอุตสาหกรรม และการประยุกต์ใช้
 machine learning และ AI กับเครื่องเร่งอนุภาค รวมทั้งมีการนำเสนองานวิจัยของนักศึกษา (student session) เพื่อแลกเปลี่ยนความคิดเห็นและรับคำแนะนำจากผู้เชี่ยวชาญในสาขาเครื่องเร่งอนุภาค และนักศึกษาทุกกลุ่มได้นำเสนอผลงานในการจำลองลำอิเล็กตรอนในเครื่องเร่งของตนเองในวันสุดท้ายของการอบรม
โดยมีหัวข้อการอบรมหลัก
 7 หัวข้อ ดังนี้

1.  Accelerator Science, Beam Dynamics, Magnet, and Source

2.  RF Cavity, Superconducting Accelerator, Injector, and Insertion Devices

3.  Circular Accelerator, Synchrotron, Instibility, and Industrial Accelerator

4.   RF Systnostics, and Linac Analyses, XFEL Driving Linac, Beam Diagnostics, and Linac Anlytics

5.   Collider, Proton & Haevy Ion Accelerators, and Medical Accelerators

6.   Advanced Courses on Acceleator Appications and AI for Accelerators

7.   3rd and 4th Generation Light Sources and Applications

         สำหรับการอบรมภาคปฏิบัติเกี่ยวกับการสร้างแบบจำลองระบบเครื่องเร่งอนุภาค (Hand on training session) ที่ให้นักศึกษาได้ลงมือทำการจำลองลำอิเล็กตรอนในเครื่องเร่งอนุภาคทั้งแบบเชิงวงและเชิงเส้น ซึ่งได้แบ่งกลุ่มนักศึกษาโดยแต่ละกลุ่มจะได้ภารกิจที่แตกต่างกันไปจำนวน 4 กลุ่ม โดยใช้โปรแกรม ASTRA, ELEGANT, OPERA และ CST Studio Suite 


แหล่งที่มา conference-indico.kek.jp

465648963_2924994117678022_1337004335373213989_n